วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อการแบ่งปันความรู้

นำเสนอความรู้ GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)




เจ้าของเว็บไซต์
นายณรงค์  มิถุนาวงศ์
นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทสรุปของ GIS

บทสรุปของ GIS

GIS ไม่ใช่  ภาพ  หรือ  แผนที่  แต่เป็น
ฐานข้อมูล ดังนั้น ฐานข้อมูล(Database) จึงเป็นศูนย์กลางหลักของ GIS ด้วยเหตุนี้ การทำแผนที่ด้วย GIS จึงไม่เหมือนกับการทำ แผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป

ขอขอบคุณภาพจาก Google Map

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)


ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
- สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
- จุด (Point)
- เส้น (line)
- พื้นที่ (Area หรือ Polygon)
-ตัวอักษร (Text)
อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
- สี (Color)
- สัญลักษณ์ (Symbol)
ข้อความบรรยาย (Annotation)
ที่ตั้ง (Location)

 ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก

แผนที่ และ ข้อมูลเชิงพื้นที่

แผนที่ คือ
 สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนพื้นราบ อาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่ บนผิวโลก

ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data) สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format)
ข้อมูลแบบแรสเตอร์ (Rastor format)
ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute data) เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น

หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )

หน้าที่ของ GIS ( How GIS Works )
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูล (Input)
 ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2. การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
 ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3. การบริหารข้อมูล (Management)

 ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
                เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น
ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?
เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?
ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?
หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น 

5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization)

 จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก http://www.gisthai.org/about-gis/work-gis.html

องค์ประกอบในการพัฒนาระบบ GIS

องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )

 องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
  คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
  2. โปรแกรม
  คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล, จัดการระบบฐานข้อมูล, เรียกค้น, วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
 3. ข้อมูล
  คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
 4. บุคลากร
  คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
 5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน
  คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
ที่มาของแหล่งข้อมูล http://www.gisthai.org/about-gis/compo-gis.html


วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

ความเป็นมาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ความเป็นมาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
GIS ของประเทศแคนาคา เป็นระบบแรกของโลก
 -ด้านการเกษตร รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ดิน เพื่อหาที่ดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร
การใช้งานในช่วงแรก
-การวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
-ใช้แนวคิดในการวางซ้อน (Overlay)

-ระบบสารสนเทศที่ดิน(Land Information Systems, LIS)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
จัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ จัดการข้อมูลเชิงคุณลักษณะระบบปฏิบัติการในการวิเคราะห์ข้อมูลนำข้อสนเทศที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการ ตัดสินใจ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศที่ออกแบบเพื่อใช้รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล ภูมิศาสตร์ การค้นคืนข้อมูลและการแสดงผล

GIS คือ อะไร

Geographic Information System  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 

ความหมาย

การใช้สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บ และการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial เพื่ออธิบายสภาพต่างๆ บนพื้นโลก โดยอาศัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นตัวเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ ระหว่าง ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ สารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการวางแผนและ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบสารสนเทศInformation Systems

ระบบปฏิบัติการ รวบรวม จัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอนพื้นที่สามารถค้นคืนได้ ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร

ภูมิศาสตร์(Geography)

วิชาที่ศึกษาพื้นผิวโลกที่เกี่ยวกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตผล และคน รวมทั้งการกระจายของสิ่งต่างๆ เหล่านี้  หรือคือวิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์  สิ่งแวดล้อมกับมนุษย์


 credit ภาพจาก: http://insanitek.net/arts-sciences-technologies-gis/